การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง

การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง

การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง​

เพื่อให้ทุกฝ่าย ตั้งแต่เจ้าของบ้าน ผู้ออกแบบ (สถาปนิก) วิศวกร ผู้รับเหมา รวมถึงบริษัทรับเหมางานเสาเข็ม (ถ้ามี) ได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญก่อนจะลงมือก่อสร้างโครงสร้างอาคาร (เช่น เสาเข็ม  ฐานราก  ตอม่อ) และจะทำหลังจากการเตรียมพื้นที่ดินเรียบร้อยแล้ว (เช่น ถมดิน และรอระยะเวลาให้ดินเซตตัวดีแล้ว ปรับระดับดินแล้ว)

การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง
ภาพ: แบบผังพื้นชั้นล่าง (บน) และแบบผังฐานรากอาคาร (ล่าง) ที่มา : แบบบ้านประหยัดพลังงาน กระทรวงพลังาน
การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง
ภาพ: ตัวอย่างการกำหนดแนวผังบริเวณก่อสร้าง โดยอ้างอิงจากแบบก่อสร้าง หมุดหลักเขตที่ดิน แนวเขตที่ดิน และตำแหน่งฐานราก
การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง
ภาพ: ตัวอย่างการขึงเอ็นและการพ่นสีเพื่อทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งฐานรากให้เห็นชัดเจน
การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง
ภาพ: ตัวอย่างการตอกหลักผังอาคาร การตีผังนอน และตำแหน่งศูนย์กลางฐานราก

สำหรับเจ้าของบ้านเอง การอ่านแบบแปลนของฐานรากได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สามารถดูการวางผังรอบบริเวณการก่อสร้างของช่างเบื้องต้นได้ว่าตรงตามแบบไหม รวมถึงพิจารณาว่าระยะถอยร่นของแนวอาคารทุกด้าน (รวมทั้งส่วนที่ยื่นออกจากตัวอาคาร) ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนดหรือไม่ ทั้งนี้ ที่ดินจริงอาจมีความคลาดเคลื่อนไปจากที่ดินในโฉนดบ้าง เจ้าของบ้านจึงควรดูจากจุดอ้างอิงจุดแรกเป็นหลัก และพิจารณาว่าแนวอาคารด้านไหนที่วางตัวขนานกับแนวเขตที่ดิน แล้วจึงค่อยพิจารณาจุดอื่นๆ เทียบกับเส้นอ้างอิง ตรวจสอบศูนย์เสา ระยะห่างระหว่างเสา ระยะรวมทั้งหมด ให้สัมพันธ์กันทั้งเรื่องของตำแหน่ง ทิศทาง และแนวฉาก โดยควรให้ผู้รับเหมาทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งแนวเสา พื้นที่ฐานรากให้ชัดเจน (ขึ้นอยู่กับการตกลงกันตั้งแต่แรก) เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบแนวผังอาคารว่าเป็นไปตามแบบหรือไม่

*เจ้าของบ้านอาจว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาตรวจสอบให้เพื่อความมั่นใจ

เมื่อติดตั้งการวางผังอาคารเสร็จ จะทำให้รู้ตำแหน่งระยะกึ่งกลางของเสาและฐานราก เพื่อให้สามารถดำเนินตามขั้นตอนการก่อสร้างบ้านให้เป็นไปตามแบบก่อสร้าง ได้บ้านที่ถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้ และให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

การวางผังอาคารกับงานก่อสร้าง
ภาพ: ตัวอย่างการวางผังสำหรับอาคารขนาดเล็ก

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

  1. เพื่อให้ทุกฝ่าย ตั้งแต่เจ้าของบ้าน ผู้ออกแบบ (สถาปนิก) วิศวกร ผู้รับเหมา รวมถึงบริษัทรับเหมางานเสาเข็ม (ถ้ามี) ได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน เป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญก่อนจะลงมือก่อสร้างโครงสร้างอาคาร (เช่น เสาเข็ม ฐานราก ตอม่อ) และจะทำหลังจากการเตรียมพื้นที่ดินเรียบร้อยแล้ว (เช่น ถมดิน และรอระยะเวลาให้ดินเซตตัวดีแล้ว ปรับระดับดินแล้ว)

ใส่ความเห็น

×

Cart