ไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตงานเสาคาน แก้ไขอย่างไร

ไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตงานเสาคาน แก้ไขอย่างไร

ไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตงานเสาคาน แก้ไขอย่างไร

ไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตงานเสาคาน แก้ไขอย่างไร สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา

สำหรับหล่อเสาคานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยปกติควรมีคุณสมบัติในด้านความแข็งแรงที่เพียงพอ ไม่แอ่นตัวหรือเสียรูป และสามารถต้านทานน้ำหนักที่มากระทำต่างๆ ขณะเทคอนกรีตได้ อีกทั้งสามารถถอดประกอบติดตั้งง่าย รอยต่อมีความแข็งแรงไม่รั่วซึม มีผิวเรียบ ไม่ดูดซึมน้ำปูน สามารถทนต่อปฏิกิริยาทางเคมีของคอนกรีตได้ แต่หากขณะเทคอนกรีตเพื่อหล่อเสาคานแล้วเกิดบวมขึ้นมา การแก้ไขจะพิจารณาเป็นกรณีไป 

ไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตงานเสาคาน แก้ไขอย่างไร
ไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตงานเสาคาน แก้ไขอย่างไร

สาเหตุที่มักทำให้เกิดปัญหาไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตคือ ไม้แบบหมดอายุ โดยทั่วไป ไม้แบบในท้องตลาดมีหลายประเภทหลายเกรดหลายความหนาให้เลือกใช้งาน ซึ่งทางผู้จำหน่ายไม้แบบจะกำหนดอายุการใช้งานของไม้แบบว่าสามารถนำไปใช้ได้กี่ครั้ง (เช่น เกรดแบบที่ใช้ได้ 2-3 ครั้ง, เกรดสำหรับการใช้งาน 10-20 ครั้ง หรือ เกรดสำหรับการใช้งาน 40-50 ครั้ง) รวมถึงขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่ออายุการใช้งานของไม้แบบ เช่น หากกองเก็บไม่ดี อายุการใช้งานของไม้แบบก็จะลดลง หรือการต่อไม้แบบไม่แข็งแรง หรือไม่ได้ตามมาตรฐานการประกอบไม้แบบสำหรับหล่อคอนกรีต

ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะไม้แบบบวมขณะกำลังเทคอนกรีต เพราะขณะเทคอนกรีตเหลวจะมีเกิดแรงดันมาก หากไม้แบบหมดอายุหรือประกอบไม้แบบไม่แข็งแรง ก็จะเกิดอาการไม้แบบบวมหรืออาจมีจุดที่ทำให้คอนกรีตรั่วออกมานอกไม้แบบได้ หากเกิดเหตุการเช่นนี้ควรหยุดการเทคอนกรีต และตักคอนกรีตที่เทไปแล้วออก จากนั้น รื้อไม้แบบออกแล้วประกอบใหม่ (กรณีที่ไม้แบบหมดอายุต้องเปลี่ยนไม้แบบใหม่) โดยยึดกันให้แข็งแรงได้มาตรฐานการประกอบไม้แบบ จึงสามารถเทคอนกรีตใหม่ได้ ส่วนกรณีเทคอนกรีตเสร็จเรียบร้อยแล้วได้งานหล่อเสาคานคอนกรีตที่บวมโก่งงอหรือไม่ตรงตามที่นักออกแบบหรือวิศวกรกำหนดไว้แล้วนั้น จำเป็นต้องให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจหน้างานและหาแนวทางแก้ไขเป็นกรณีๆ ไป โดยวิศวกรอาจสั่งรื้อทำใหม่ เช่น กรณีได้งานโครงสร้างที่ไม่สมบูรณ์ หรือมีการโก่งตัวไปข้างใดข้างหนึ่งจนไม่ได้ศูนย์ บวมนูนบิดเบี้ยว ที่หากไม่แก้ไขจะส่งผลต่อโครงสร้างโดยรวมและอาจเกิดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยได้ในอนาคต หรืออาจให้เสริมกำลังโดยเอาวัสดุอย่างอื่นมาเสริมด้านข้างเพิ่มเติม หรือมีวิธีแก้ไขอื่นๆ แล้วแต่กรณี เช่น คานคอนกรีตที่ป่องบวมออกมาสองข้างแบบเท่าๆ กันโดยไม่ส่งผลกระทบกับส่วนอื่นๆ  วิศวกรอาจแนะนำให้แก้ไขโดยเจียคอนกรีตส่วนที่เกินออกได้

ดังนั้น เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาไม้แบบบวม ควรเลือกใช้ไม้แบบที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรวจสอบไม้แบบว่ายังไม่หมดอายุการใช้งาน ประกอบยึดให้ได้ตามมาตรฐานการประกอบไม้แบบก่อนเทคอนกรีต นอกจากนี้ ควรใส่ใจเรื่องสัดส่วนความข้นเหลวของคอนกรีตที่เหมาะสม อีกทั้งมีการจี้เขย่าคอนกรีตให้เข้ากันอย่างทั่วถึงตามวิธีมาตรฐานอย่างเหมาะสม ก็จะยิ่งทำให้ได้งานหล่อเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เต็มตามแบบอย่างสมบูรณ์และมีความแข็งแรง

ไม้แบบบวมตอนเทคอนกรีตงานเสาคาน แก้ไขอย่างไร
ตัวอย่างงานหล่อคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

ใส่ความเห็น

×
×

Cart