ติดต่อฝ่ายขายโทร.  02-422-5995-8

เทคนิคการฉาบปูน Cement Plastering Technique

เทคนิคการฉาบปูน Cement Plastering Technique

เทคนิคการฉาบปูน Cement Plastering Technique

รอยร้าวไม่ว่าจะเกิดกับบ้านของเราเอง หรือบ้านของใครก็ทำให้ลดความสวยงามลง ซึ่งสาเหตุของรอยร้าวบนผนังเกิดได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นมาจากการฉาบปูน โดยปูนที่ฉาบอาจจะมีแรงยึดเหนี่ยวไม่พอ ทำให้เกิดรอยแตกร้าวบนผนัง ซึ่งเทคนิคการเลือกปูนที่ดี และการฉาบปูนให้ถูกวิธี ก็จะช่วยให้รอยร้าวบนผนังเกิดขึ้นได้น้อยลง หรือไม่เกิดเลยการเลือกปูนให้เหมาะสม

เทคนิคการฉาบปูน Cement Plastering Technique

อุปกรณ์

1. เกรียงไม้ และเกรียงพลาสติก
2. ฟองนํ้า และแปรงสลัดนํ้า
3. อุปกรณ์ผสมปูน
4. ถังปูน

คุณรู้หรือไม่ว่า…ปูนซีเมนต์ประเภทดั้งเดิมต้องมีการเพิ่มสารเคมีเพื่อช่วยให้ฉาบง่ายและลดการแตกร้าว แต่ปัจจุบัน ตราเสือได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณสมบัติฉาบง่าย และลดโอกาสการแตกร้าว โดยเฉพาะ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป สำหรับงานฉาบทุกชนิด เพียงผสมนํ้าก็สามารถใช้งานได้ทันที ช่วยให้ร่นระยะเวลาการทำงาน ได้งานที่สมบูรณ์แบบ ไม่ต้องกลับมาแก้ไขงานอีกขั้นตอนการฉาบ

1. รอผนังที่ก่อเซ็ทตัวอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน โดยระหว่าง 7 วันนั้นให้มีการรดนํ้าบ่มผนังอย่างต่อเนื่องด้วย


2. เช็คสภาพผิวผนังว่าอิฐยึดเกาะกันดี ผนังไม่โอนเอนเคลื่อนไหวได้ หากผนังมีการโน้มเอียงหรือเว้ายุบ จนเกินกว่าที่ปูนฉาบจะปิดผิวและทำให้ได้ระดับเท่ากัน (เมื่อฉาบไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร) ให้สกัดส่วนเว้าแอ่นออก เพื่อลดโอกาสหลุดร่อนจากการฉาบที่หนาเกินไป


3. จับเซี้ยมและจับปุ่ม เพื่อการฉาบที่ได้ระดับและความหนาที่เหมาะสม ซึ่งนิยมใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท มาผสมกับทรายให้มีส่วนของปูนเข้มข้นกว่าการใช้งานทั่วไป เรียกว่า ปูนเค็ม นอกจากนี้ควรมีการ “สลัดดอก” หรือการสะบัดปูนลงบนผิวคาน และเสาคอนกรีตเพื่อเพิ่มความขรุขระให้กับผิวก่อนฉาบด้วย


4. ติดลวดตะแกรง หรือกรงไก่ บริเวณมุมวงกบประตูและหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสแตกร้าวจากการยืดหดตัวของปูนซีเมนต์ รวมถึงรอยต่อของวัสดุต่างชนิด เช่น ระหว่างส่วนก่ออิฐกับเสาเอ็นและคานทับหลัง ระหว่างร่องการเดินท่อเดินสายไฟซึ่งปิด ทับด้วยปูนแล้วกับส่วนก่ออิฐ


5. ก่อนการฉาบ 1 วัน ให้มีการรดนํ้าในช่วงเย็น จากนั้นก่อนทำการฉาบในวันถัดไปให้รดนํ้าผนังในช่วงเช้า ทิ้งให้หมาดก่อนทำการฉาบ ห้ามฉาบขณะที่ผนังยังเปียกนํ้า เพราะจะทำให้ปูนไม่ยึดเกาะกับ


6. การฉาบชั้นแรก สามารถเลือกใช้ปูนซีเมนต์ที่มีความหยาบกว่า เช่น เสือ มอร์ตาร์ ฉาบทั่วไป โดยควรฉาบไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร เพราะจะต้องมีการฉาบในชั้นถัดไปเพี่อให้ผิวได้ระดับและเรียบเนียน จากนั้นให้ใช้ไม้บรรทัดปาดปูนในการปรับผิวหน้าให้ได้ระดับ หมายระยะตามที่จับเซี้ยมและจับปุ่มไว้ โดยสามเหลี่ยมปาดปูนจะทำหน้าที่เฉือนเนื้อปูนที่ล้นเกินจากระดับที่จับปุ่มและเซี้ยมไว้ และสามารถเติมเนื้อปูนในส่วนที่ยังพร่องไปได้ หรือหากเป็นผนังก่ออิฐมวลเบาสามารถใช้ เสือ มอร์ตาร์ ฉาบอิฐมวลเบา ในการฉาบในชั้นนี้ เพื่อให้เนื้อปูนสามารถยึดเกาะกับอิฐมวลเบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


7. การฉาบทับหน้า เป็นการขึ้นปูนเนื้อละเอียด อย่าง เสือ มอร์ตาร์ ฉาบละเอียด จากนั้นทำการตีนํ้าลงฟอง เพื่อให้ผนังเรียบเนียน โดยใช้แปรงสลัดนํ้าไปที่เนื้อปูนที่เริ่มแห้งหมาด ๆ ใช้เกรียงไม้ลูบไปมาให้ทั่วเพื่อเกลี่ยเม็ดทรายที่ผสมอยู่ให้เรียงตัวเรียบเนียนเสมอกัน จากนั้นใช้ฟองนํ้าที่ชุบนํ้าและบิดจนแห้ง ประกบบนเกียงไม้ลูบซํ้าอีกครั้งให้ทั่วผนัง ทั้งนี้ เมื่อรวมกับผิวชั้นก่อนหน้านี้ไม่ควรหนาเกินไปกว่า 2.5 เซนติเมตร


8. การบ่มผิว ควรมีการรดนํ้าผนังอย่างต่อเนื่องไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 7 วัน หากอากาศร้อน มีแดดจัด หรือลมพัดแรง จนทำให้ผนังเสียนํ้าเร็วเกินไป ควรเพิ่มการรดนํ้าเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และยืดระยะเวลาการลดออกไป อาจใช้การบังแดดลมด้วยการขึงผ้าใบช่วยในบริเวณที่สัมผัสกับอากาศที่รุนแรง นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้ผนังเรียบเนียนเป็นพิเศษ คือการใช้ปูนฉาบแต่งผิวอย่าง เสือ เดคอร์ Color Skim Coat (ฉาบสีผิวเรียบ) ฉาบในชั้นสุดท้ายเมื่อผนังชั้นแรกแห้งตัว และบ่มนํ้าเสร็จแล้ว ซึ่งสามารถศึกษาวิธีการทำงานได้จากหลังถุง การที่เจ้าของบ้านจะได้ผนังที่แข็งแรง เรียบเนียน ไม่แตกร้าวนั้นอยู่ที่องค์ประกอบหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือ ช่างมืออาชีพ และปูนคูณภาพอย่าง ตราเสือ ที่จะช่วยทำให้ผนังแข็งแรง และไม่แตกร้าวอย่างที่ต้องการ

ขอขอบคุณที่มาของบทความ
www.tigerbrandth.com

ใส่ความเห็น

×
×

Cart