ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน

ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน

ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาเรื่องเสียงดังจากโดยรอบ และกั้นเสียงดังจากห้องเราเอง รวมถึงลดปัญหาเสียงก้องเวลาพูดคุยหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ

ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 1

การออกแบบห้องต่างๆ ที่ต้องการควบคุมเรื่องเสียง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันเสียงดังรบกวนซึ่งกันและกัน หรือการลดเสียงก้องภายในห้อง ควรมีการออกแบบให้ตอบโจทย์แต่ละกิจกรรม เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องเสียงที่อาจจะเกิดขึ้น การออกแบบห้องให้กันเสียงนั้นสามารถทำได้โดยเลือกใช้วัสดุกันเสียง เพื่อกันไม่ให้เสียงทะลุจากห้องหนึ่งไปอีกห้องหนึ่ง หรือเพื่อกันเสียงจากภายในไม่ให้ออกและกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้า ส่วนการออกแบบห้องให้ลดเสียงก้องสามารถทำได้โดยเลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง เพื่อลดเสียงก้องและเสียงสะท้อนภายในห้องที่อาจรบกวนการพูดคุยหรือการดูหนังฟังเพลง

ป้องกันปัญหาเสียงดังรบกวน

1. ใช้ฉนวนกันเสียง ติดตั้งบริเวณผนัง (สามารถติดตั้งคู่กับทั้งผนังก่ออิฐ และผนังโครงเบาได้) และฝ้าเพดาน (ติดตั้งระหว่างแผ่นฝ้าสองแผ่น) เช่น วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock ซึ่งเป็นฉนวนใยแก้วที่ความหนาแน่นสูงและมีรูพรุน* หุ้มรอบด้านด้วยวัสดุกันความชื้นสีดำ

*รูพรุนหรือ Open Cell จะเปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของพลังงานเสียงกับรูพรุนของแผ่นอะคูสติก จึงช่วยลดระดับพลังงานเสียงได้

ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 2
ภาพ: ตัวอย่างฉนวนกันเสียงบริเวณผนัง ที่ติดตั้งคู่กับระบบผนังโครงเบา
ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 3
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งฉนวนที่ผนังและฝ้าเพดาน

2. เพิ่มความหนาผนัง โดยการก่ออิฐแบบเต็มแผ่น หรือ การก่ออิฐสองชั้นแบบเว้นช่องว่างระหว่างผนังเพื่อลดการส่งผ่านของเสียง ซึ่งหากมีการติดตั้งฉนวนกันเสียงเข้าไปที่ช่องว่างระหว่างผนังนี้ด้วย จะยิ่งช่วยกันเสียงได้มากยิ่งขึ้น

ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 4
ภาพ: ผนังก่ออิฐสองชั้น ที่เป็นลักษณะก่ออิฐแบบเต็มแผ่น
ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 5
ภาพ: การก่ออิฐสองชั้นแบบเว้นช่องว่างระหว่างผนัง

3. ปิดรอยต่อประตู-หน้าต่างให้มิดชิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียง ด้วยการปิดรอยต่อระหว่างประตู-หน้าต่างให้แนบสนิทที่สุด

ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 6
ภาพ: ปิดรอยต่อระหว่างประตู-หน้าต่างให้แนบสนิทที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียง

4. เลือกใช้กระจกหนาหรือกระจกสองชั้น สำหรับกรณีที่ต้องการกันเสียงหรือลดเสียงรบกวนมากยิ่งขึ้น

ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 7
ภาพ: การเลือกใช้กระจกสองชั้น สำหรับกรณีที่ต้องการลดเสียงรบกวนมากๆ

ลดเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนภายในห้อง

1. ทำผนังขรุขระ เลือกใช้วัสดุผิวปรุเป็นรู เพื่อช่วยในการดูดซับเสียง

ภาพ: ตัวอย่างการทำผนังขรุขระ หรือเลือกใช้วัสดุที่มีผิวปรุเพื่อช่วยดูดซับเสียง
ภาพ: ตัวอย่างการทำผนังขรุขระ หรือเลือกใช้วัสดุที่มีผิวปรุเพื่อช่วยดูดซับเสียง

2. เลือกใช้วัสดุดูดซับเสียง ที่ผนัง เพดาน หรือพื้น สำหรับวัสดุบุผนัง เช่น วัสดุอะคูสติก เอสซีจีรุ่น Cylence Zandera ซึ่งเป็นแผ่นบุผนังสำเร็จรูปที่ผลิตจากฉนวนใยแก้วความหนาแน่นสูง ขึ้นรูปเป็นแผ่นแข็ง หุ้มด้วยผ้าตกแต่งชนิดพิเศษหลากสี มีน้ำหนักเบา สำหรับบุฝ้าเพดาน เช่น แผ่นฝ้ากลาสวูล แผ่นฝ้ายิปซั่ม และบุพื้น เช่น พรมอัดชนิดลูกฟูก เพื่อช่วยลดเสียงสะท้อนให้ดียิ่งขึ้น

ภาพ: ตัวอย่างการบุผนังด้วยวัสดุดูดซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera เพื่อช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อน
ภาพ: ตัวอย่างการบุผนังด้วยวัสดุดูดซับเสียง เอสซีจี รุ่น Cylence Zandera เพื่อช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อน
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งฝ้าซับเสียง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Wondery ระบบยิปซั่ม
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งฝ้าซับเสียง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Wondery ระบบยิปซั่ม
ภาพ: เลือกใช้พรมที่พื้น เพื่อช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อน
ภาพ: เลือกใช้พรมที่พื้น เพื่อช่วยดูดซับเสียงและลดเสียงสะท้อน

3. ใส่ผ้าม่านที่ผนังกระจก สำหรับห้องที่มีกระจกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของประตู หน้าต่างกระจก เพื่อช่วยลดการสะท้อนของเสียง

ภาพ: ใส่ผ้าม่านที่ผนังกระจก เพื่อช่วยลดการสะท้อนของเสียง
ภาพ: ใส่ผ้าม่านที่ผนังกระจก เพื่อช่วยลดการสะท้อนของเสียง

Cylence Zandera กับ Cylence Zoundblock ใช้ทดแทนกันได้ไหม?

แม้ว่าทั้ง Zandera และ Zoundblock จะมีวัตถุดิบหลักเป็นฉนวนใยแก้วความหนาแน่นสูงทั้งคู่ แต่ด้วยวิธีการผลิต วัสดุประสาน รวมถึงขนาดและความหนาของเส้นใยนั้นแตกต่างกัน เพื่อตอบจุดประสงค์การใช้งานที่ต่างกัน โดย Zandera จะเป็นวัสดุดูดซับเสียงที่ช่วยลดเสียงก้องเสียงสะท้อนในห้อง ส่วน Zoundblock เป็นวัสดุกันเสียงรบกวน ซึ่งช่วยกั้นเสียงไม่ให้ทะลุผ่านจากผนังด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง จึงแนะนำให้เลือกใช้งานให้ถูกหน้าที่จะดีสุด

สำหรับใครที่ต้องการทำห้องที่ต้องมีการใช้เสียง ไม่ว่าจะเป็น ห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องอัดเสียง ห้องประชุม ออฟฟิศ และห้องเรียน ควรได้รับการออกแบบให้มีค่าการกันเสียงและค่าดูดซับเสียงที่เหมาะสมกับแต่ละห้อง โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ภาพ: ห้องโฮมเธียเตอร์ ควรออกแบบให้มีค่าการกันเสียงและดูดซับเสียงที่เหมาะสม เพื่อการดูหนังฟังเพลงได้อย่างเต็มอรรถรส และไม่รบกวนเพื่อนบ้าน
ภาพ: ห้องโฮมเธียเตอร์ ควรออกแบบให้มีค่าการกันเสียงและดูดซับเสียงที่เหมาะสม เพื่อการดูหนังฟังเพลงได้อย่างเต็มอรรถรส และไม่รบกวนเพื่อนบ้าน
ภาพ: สำหรับห้องที่ต้องคุยธุระกันอย่างมีกิจลักษณะ ควรออกแบบให้มีการกันเสียงและดูดซับเสียงที่ดี เพื่อการคุยงานที่มีประสิทธิภาพ
ภาพ: สำหรับห้องที่ต้องคุยธุระกันอย่างมีกิจลักษณะ ควรออกแบบให้มีการกันเสียงและดูดซับเสียงที่ดี เพื่อการคุยงานที่มีประสิทธิภาพ
ลดเสียงก้องในห้อง ป้องกันเสียงดังรบกวน 8
ภาพ: ห้องที่ต้องใช้เสียงดัง เช่นห้องที่มีการเล่นดนตรีเป็นครั้งคราว ก็ควรออกแบบติดตั้งวัสดุที่ช่วยกันเสียงไม่ให้เล็ดลอดออกไปรบกวนห้องข้างเคียงเช่นกัน

ใส่ความเห็น

×

Cart