แก้ปัญหาบ้านร้อน ปูฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา กับปูบนฝ้าเพดาน แบบไหนบ้านเย็นกว่ากัน ?

แก้ปัญหาบ้านร้อน ปูฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา กับปูบนฝ้าเพดาน แบบไหนบ้านเย็นกว่ากัน ?

แก้ปัญหาบ้านร้อน ปูฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา กับปูบนฝ้าเพดาน แบบไหนบ้านเย็นกว่ากัน ?

ข้อแตกต่างและข้อคำนึงในการเลือกฉนวนกันความร้อนเพื่อบ้านเย็น ว่าจะใช้ฉนวนแบบปูใต้หลังคาหรือปูบนฝ้าเพดาน เพื่อการแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ได้ประสิทธิภาพ (ดูแลรักษา)

ตัวช่วยแก้ปัญหาบ้านร้อน อย่างฉนวนกันความร้อนทั้งแบบปูบนฝ้าเพดานและแบบปูใต้หลังคา ต่างก็มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ช่วยลดความร้อนจากโถงหลังคาที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ทำบ้านเย็นขึ้นได้ทั้งคู่ โดยข้อคำนึงหลักๆ ที่เจ้าของบ้านควรพิจารณาในการเลือกใช้งานก็คือ ค่าการกันความร้อน (ค่า R) ตำแหน่งการติดตั้ง รูปแบบของฉนวน และการดูแลรักษา

ค่าการกันความร้อน หรือ ค่า R ของฉนวนกันความร้อน

การจะปูฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าเพดาน หรือปูใต้หลังคานั้น ประสิทธิภาพการกันความร้อนอาจให้ผลไม่ต่างกันมากนัก เพราะปัจจัยที่สำคัญกว่าคือ “ค่าการกันความร้อน” เป็นความสามารถในการต้านทานความร้อน หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “ค่า R” ในการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน จึงควรดูค่า R เป็นหลัก โดยวัสดุแต่ละชนิดจะมีค่า R แตกต่างกัน ทั้งนี้ ค่า R จะสัมพันธ์กับความหนาของฉนวน โดยฉนวนยิ่งหนา ค่า R จะยิ่งสูง

ตำแหน่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคาจะติดตั้งไปตามความลาดเอียงของหลังคา ซึ่งต้องมีวิธียึดติดตั้งฉนวนให้แนบไปกับหลังคาตามที่ผู้ผลิตกำหนด ส่วนการติดตั้งฉนวนแบบปูบนฝ้าเพดาน จะเป็นวางหรือปูฉนวนเรียงไปบนฝ้าเพดานเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปมักไม่มีการยึดฉนวนเข้ากับโครงคร่าวฝ้า

ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคา
ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคา

 

ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดาน
ภาพ: การติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดาน

 

รูปแบบของฉนวนกันความร้อน

– ฉนวนกันความร้อนแบบปูใต้หลังคา จะมีทั้ง วัสดุโฟม PU สำหรับพ่นใต้กระเบื้องหลังคาตามความหนาที่ต้องการ (2-3 นิ้ว โดยทั่วไป) หรือจะเป็นวัสดุแบบแผ่นหุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ อย่างโพลีเอธิลีนโฟม (PE หรือ โฟมพีอี) Air Bubble รวมถึงแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์สะท้อนรังสีความร้อนที่มีให้เลือกทั้งแบบธรรมดา และแบบมีฉนวนใยแก้วซ่อนด้านในช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันความร้อน

ภาพ: ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น Air Bubble (บนซ้าย) โพลีเอธิลีนโฟม (ล่างซ้าย) และ แบบโฟม PU สำหรับพ่นใต้วัสดุมุงหลังคา (ขวา)
ภาพ: ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น Air Bubble (บนซ้าย) โพลีเอธิลีนโฟม (ล่างซ้าย) และ แบบโฟม PU สำหรับพ่นใต้วัสดุมุงหลังคา (ขวา)

 

ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากหลังคา
ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากหลังคา

 

ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์แบบมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนด้านใน ใช้สำหรับติดตั้งบนแปหลังคา
ภาพ: แผ่นสะท้อนความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์แบบมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนด้านใน ใช้สำหรับติดตั้งบนแปหลังคา

 

– ฉนวนกันความร้อนแบบปูบนฝ้าเพดาน อาจเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่นที่ปูใต้หลังคาได้อย่าง โพลีเอธิลีนโฟม Air Bubble หรือจะเลือกใช้ฉนวนใยแก้วแบบม้วนก็ได้

ภาพ: ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เป็นฉนวนใยแก้วหุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ สำหรับวางบนฝ้าเพดาน
ภาพ: ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เป็นฉนวนใยแก้วหุ้มอะลูมิเนียมฟอยล์ สำหรับวางบนฝ้าเพดาน

 

การดูแลรักษาฉนวนกันความร้อน

หากเทียบกันแล้ว ฉนวนที่ปูบนฝ้าเพดานมักรื้อเปลี่ยนได้ง่ายกว่า โดยสามารถลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานได้ ส่วนการรื้อเปลี่ยนฉนวนที่ติดตั้งใต้หลังคาส่วนใหญ่มักต้องมีการรื้อกระเบื้องหลังคา ซึ่งค่อนข้างยุ่งยากกว่า

ภาพ: การลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน
ภาพ: การลำเลียงฉนวนเข้าออกทางช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน

 

หลังจากที่ได้เห็นภาพรวมของฉนวนกันความร้อน ทั้งแบบปูใต้หลังคาและแบบปูบนฝ้าเพดานไปแล้ว การตัดสินใจเลือกฉนวนเพื่อแก้ปัญหาบ้านร้อนครั้งต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างไรก็ตาม อีกเรื่องสำคัญที่เจ้าของบ้านจะมองข้ามไม่ได้ก็คือ การทำบ้านเย็นนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ติดตั้งฉนวนที่มี ค่า R สูง ในหลายๆ ตำแหน่งของบ้านเท่านั้น แต่จะต้อง “มีการระบายอากาศที่ดี” มิฉะนั้นความร้อนในบ้านจะถูกฉนวนกักไว้ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว ทำนองว่าฉนวนช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าบ้าน แต่ก็กันความร้อนในบ้านไม่ให้ออกไปเช่นเดียวกัน การระบายอากาศที่ดี จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยพาเอาความร้อนในบ้านออกไปได้

ขอขอบคุณที่มาของบทความ
www.scghome.com

ใส่ความเห็น

×

Cart