ติดต่อฝ่ายขายโทร.  02-422-5995-8

5 วิธีปิดจุดเสี่ยงบนหลังคา ป้องกันนกและสัตว์เล็กยึดบ้าน

5 วิธีปิดจุดเสี่ยงบนหลังคา ป้องกันนกและสัตว์เล็กยึดบ้าน

5 วิธีปิดจุดเสี่ยงบนหลังคา ป้องกันนกและสัตว์เล็กยึดบ้าน

ไอเดียจัดสวนเล็ก ๆ ระเบียงคอนโด พื้นที่จำกัดก็จัดได้ ! ระบบหลังคาป้องกันสัตว์เล็ก เอสซีจี

ความตั้งใจของคนสร้างบ้าน ย่อมอยากอยู่อาศัยในบ้านที่สวยงามอยู่เสมอและไม่มีปัญหาจุกจิกรบกวนใจ  แต่ถ้าเราไม่ทันสังเกตว่ามีช่องโหว่หรือโพรงแม้เพียงเล็ก ๆ เกิดขึ้นบนผืนหลังคา บ้านของเราอาจมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่พึงประสงค์เข้ามายึดเป็นอาศัยอยู่ใต้หลังคาโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะ “นก” ที่มักเริ่มจากการแวะเวียน มาเกาะพักจนสบช่องเข้าไปทำรัง หรือสัตว์ขนาดเล็กอย่าง “หนู” ก็เล็ดลอดเข้าไปตามช่องว่างเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ซึ่งเจ้าของบ้านหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ผลกระทบสำหรับบ้านอาจเริ่มตั้งแต่เล็ก ๆ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้โดยคาดไม่ถึงเลยครับ

ผลกระทบเมื่อนกและสัตว์เล็กมาทำรัง บานปลายกว่าที่คิด

ปัญหานกและสัตว์เล็กที่ไม่พึงประสงค์รบกวนบนหลังคาบ้าน อาจเริ่มจากการสร้างความรำคาญจากเสียงที่ได้ยินจากใต้หลังคา ลุกลามมาทำให้บ้านดูสกปรกทรุดโทรมก่อนเวลา ไปจนถึงจุดที่เข้าไปทำลายส่วนประกอบของบ้าน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องใช้ให้เสียหายเป็นวงกว้างได้เลยทีเดียวครับ เพราะมูลนกส่วนที่เห็นเป็นสีขาวจะมีกรดยูริค ซึ่งสามารถกัดกร่อนโลหะทำให้เกิดสนิมได้​​​​​​​

ผลกระทบเมื่อนกและสัตว์เล็กมาทำรัง บานปลายกว่าที่คิด

ในแง่สุขภาพการรวมตัวอยู่อาศัยของสัตว์ยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มูลสัตว์ยังส่งกลิ่นเหม็นเป็นมลพิษรบกวนการอยู่อาศัย ไม่เพียงแต่ทำให้เสียสุขภาพจิต อันตรายกับสุขภาพกาย ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมด้วย และแน่นอนว่า การแก้ไขนั้นยากกว่าการป้องกันเสมอครับ ดังนั้นกันไว้ก่อนจะดีที่สุด สำหรับทางป้องกันของปัญหานี้ คือ ต้องไม่มีที่เกาะ ไม่มีช่องว่าง ด้วยการปิดจุดเสี่ยง ดังนี้ครับ

5 วิธีปิดจุดเสี่ยงบนหลังคา

1. ตัดแต่งต้นไม้อยู่เสมอ ไม่ให้กิ่งไม้ใกล้บ้านจนเกินไป เพราะกิ่งไม้เหล่านี้จะเป็นเสมือนสะพานเชื่อมโยงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติบริเวณนั้น หรืออยู่บนต้นไม้ให้เข้าใกล้บ้านได้ง่ายขึ้น

2. ปิดช่องโหว่ ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้มิดชิด บริเวณใต้หลังคาที่สัตว์ชอบมายึดครอง อาทิ ครอบข้าง, สันหลังคา, เชิงชาย, สันตะเข้, ปลายตะเข้ บริเวณดังกล่าวเหล่านี้มักมีรอยต่อหรือช่องว่าง หากปิดไม่ดี อาจกลายเป็นที่อยู่ที่พักอาศัยของนกและสัตว์เล็กได้ รวมถึงฝ้าชายคาภายนอกที่ผุพัง หากปล่อยไว้โดยไม่ได้ซ่อมแซม ไม่ช้าไม่นานสัตว์และแมลงจะเข้ามาครอบครองพื้นที่ ฉะนั้นควรปกปิดทุกจุดใต้หลังคาให้มิดชิดอยู่เสมอครับ

5 วิธีปิดจุดเสี่ยงบนหลังคา

3. ใส่แผ่นโปร่งแสงหรือ Sky Light สัตว์บางชนิดไม่ค่อยชอบอยู่อาศัยในที่มีแสงสว่างจ้า การแทรกบางส่วนของหลังคาด้วยวัสดุโปร่งแสงจึงเป็นแนวคิดที่ดี วิธีนี้ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ เพื่อเลือกจุดตำแหน่งที่เหมาะสม เพราะการเปิดช่องแสงบนหลังคาย่อมหมายถึงการเพิ่มความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านด้วย แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการติดตั้งฉนวนกันความร้อนหรือหากเป็นกระจกสามารถใช้ฟิล์มกันแสงได้เช่นกัน

ใส่แผ่นโปร่งแสงหรือ Sky Light

4. ฝ้าชายคาต้องมีตาข่าย เราจะเห็นว่าบ้านยุคใหม่จะเริ่มนิยมใช้ฝ้าชายคาที่มีรูเล็ก ๆ สำหรับระบายอากาศออกจากโถงหลังคา ซึ่งช่องทางนี้เองหากไม่มีตาข่ายติดตั้งข้างใน จะเปิดทางสะดวกให้แมลงขนาดเล็กเข้ามาได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นถ้าจะติดตั้งฝ้าชายคาต้องมองหารุ่นที่มีตาข่ายกันแมลงด้วยครับ

ฝ้าชายคาต้องมีตาข่าย
5.ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัตว์เล็ก

5.ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัตว์เล็ก

วิธีนี้ง่ายที่สุด เพราะเป็นการลดโอกาสที่สัตว์เล็กจะเข้ามาในบริเวณหลังคาที่สามารถทำไปพร้อมกับขั้นตอนการติดตั้งโครงสร้างหลังคาได้เลย ไม่ต้องทำเพิ่มทีหลัง ไม่ต้องเสียเวลาหาอุปกรณ์และกลยุทธ์ไล่นก ด้วยระบบหลังคากันสัตว์เล็กไม่ให้เข้าไปสร้างความเสียหายบริเวณหลังคาและครอบจาก SCG (Small Animal Protection System) ซึ่งประกอบด้วย 5 อุปกรณ์ คือ

5 วิธีปิดจุดเสี่ยงบนหลังคา ป้องกันนกและสัตว์เล็กยึดบ้าน 1
  • แผ่นครอบข้าง แผ่นติดครอบข้างใช้ปิดช่องว่างระหว่างครอบข้างปั้นลมและกระเบื้องหลังคา
  • แผ่นปิดครอบสันหลังคา หรือตะเข้สัน กรณีติดตั้งครอบด้วยระบบแห้ง ก่อนทำการติดตั้งครอบสันหลังคา จะต้องติดตั้งแผ่นปิดครอบเสียก่อนเพื่อช่วยปิดรอยต่อหรือช่องเล็กๆ ที่เกิดขึ้นตรงสันหลังคาได้
  • แผ่นปิดเชิงชาย หรือแผ่นปิดกันนกบริเวณเชิงชาย ใช้ปิดระหว่างบริเวณใต้ท้องกระเบื้องหลังคา แนวเชิงชาย (สำหรับหลังคาไฟเบอร์ซิเมนต์ เอสซีจี หลังคาคอนกรีต เอสซีจี และเซรามิค เอสซีจี)
  • แผ่นครอบปิดปลายตะเข้ ใช้ปิดช่องว่างบริเวณครอบปิดปลายตะเข้

ชุดอุปกรณ์ป้องกันสัตว์เล็ก เอสซีจี นอกจากจะช่วยลดโอกาสของปัญหาสัตว์เล็กบริเวณหลังคาได้อย่างตรงจุดและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพราะผลิตจากพลาสติกโพลีโพรพิลีน หรือ PP เกรดพิเศษแล้ว ยังเพิ่มคุณสมบัติพิเศษของสารป้องกันการลามไฟ ตามมาตรฐานUL- 94 Class V2* สามารถทนความร้อนได้มากกว่า 105 องศาเซลเซียส และป้องกันรังสี UV  อีกทั้งยังทนทานต่อสภาพอากาศ  มีความแข็งแรงเหนียว น้ำหนักเบาไม่กระทบโครงสร้างหลังคา และยืดหยุ่นดี นอกจากนี้ยังไม่ดูดซึมน้ำ ไม่ขึ้นรา แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพในการปกป้องหลังคาจากการรั่วซึมตามจุดเสี่ยงรั่วซึมบริเวณรอยแยกบนหลังคาได้ด้วย

อย่าปล่อยให้สัตว์เล็ก เป็นต้นตอการเกิดปัญหาใหญ่ ผู้อ่านท่านใดสนใจติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัตว์เล็ก SCG สามารถสอบถามขอรายละเอียดได้ที่ www.scgbuildingmaterials.com หรือ SCG HOME Contact Center 02-586-2222
หมายเหตุ* ul 94 Class v2 มาตรฐานความปลอดภัยของการติดไฟของวัสดุพลาสติก

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

  1. 5 วิธีปิดจุดเสี่ยงบนหลังคา ป้องกันนกและสัตว์เล็กยึดบ้าน ความตั้งใจของคนสร้างบ้าน ย่อมอยากอยู่อาศัยในบ้านที่สวยงามอยู่เสมอและไม่มีปัญหาจุกจิกรบกวนใจ แต่ถ้าเราไม่ทันสังเกตว่ามีช่องโหว่หรือโพรงแม้เพียงเล็ก ๆ เกิดขึ้นบนผืนหลังคา บ้านของเราอาจมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่พึงประสงค์เข้ามายึดเป็นอาศัยอยู่ใต้หลังคาโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะ “นก” ที่มักเริ่มจากการแวะเวียน มาเกาะพักจนสบช่องเข้าไปทำรัง หรือสัตว์ขนาดเล็กอย่าง “หนู” ก็เล็ดลอดเข้าไปตามช่องว่างเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ซึ่งเจ้าของบ้านหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ผลกระทบสำหรับบ้านอาจเริ่มตั้งแต่เล็ก ๆ จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้โดยคาดไม่ถึงเลยครับ

ใส่ความเห็น

×
×

Cart