6 อย่างอย่าทำ จำไว้ให้ขึ้นใจ ป้องกันผนังแตกร้าวในบ้านคุณ

6 อย่างอย่าทำ จำไว้ให้ขึ้นใจ ป้องกันผนังแตกร้าวในบ้านคุณ

6 อย่างอย่าทำ จำไว้ให้ขึ้นใจ ป้องกันผนังแตกร้าวในบ้านคุณ

“กันไว้ดีกว่าแก้” เป็นคำพูดใช้ได้ดีกับการสร้างบ้าน เพราะหากบ้านของคุณที่เคยสวย กลับพังไม่เป็นท่า เพราะเวลาผ่านไปบ้านกลับต้องเจอกับปัญหารอยแตกร้าว ทำให้ต้องเสียทั้งเวลา และเสียทั้งงบประมาณในการซ่อมแซ่ม ดังนั้น คุณอาจจะต้องคิดให้รอบคอบ ตรวจสอบการก่อสร้างให้ดี และทำตามเทคนิค “6 อย่าทำ” โดยอาจารย์สำเริง ฤทธิ์ พริ้ง วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านงานก่อสร้าง ดังนี้เลย

6 อย่างอย่าทำ จำไว้ให้ขึ้นใจ ป้องกันผนังแตกร้าวในบ้านคุณ

1. อย่า …ก่ออิฐภายในวันเดียว

การก่ออิฐเปรียบเสมือนเป็นรากฐาน และเป็นโครงสร้างหลักให้กับบ้าน ซึ่งเป็นงานที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของผนัง แม้ว่าบางครั้งอาจดูเป็นงานที่น่าจะเสร็จได้ภายในวันเดียว แต่ในความเป็นจริงปูนต้องใช้เวลาในการเซตตัวประมาณ 3-4 วันและพัฒนาความแข็งแรง รวมถึงการยุบตัวของปูนเนื่องจากนํ้าจะระเหยออกจากเนื้อปูนส่งผลให้เกิดการแตกร้าวของผนังหลังฉาบได้เช่นกัน ดังนั้นควรวางแผนให้มีการก่อผนัง และมีระยะเวลาสำหรับหล่อเสาเอ็น และคานทับหลังเมื่อก่อได้ระยะความสูง หรือควรเว้นระยะชนท้องคาน เพื่อให้ปูนยุบตัว ก่อนมีการก่ออิฐชั้นสุดท้าย

2. อย่า …ก่ออิฐชนท้องพื้นสำเร็จชนด้านบน

เพราะพื้นสำเร็จมักจะให้ตัวได้ การก่อผนังจนชนท้องพื้นสำเร็จ จึงอาจทำให้เมื่อพื้นสำเร็จให้ตัว ทำให้เกิดแรงกดลงบนสันของผนัง แรงกดนี้จะทำให้เกิดการแตกร้าวของผนังได้ (เมื่อเกิดการยุบตัวของพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือเกิดการให้ตัว นํ้าหนักของด้านบนจะกดลงบนผนังในแนวดิ่ง เกิดเป็นรอยร้าวในแนวดิ่งลักษณะนี้ได้)

3. อย่า …ก่ออิฐบนพื้นสำเร็จรูป หรือพื้นที่ไม่มีคานรับ

การก่ออิฐเสมือนการเอานํ้าหนักไปวางไว้ และเมื่อพื้นสำเร็จมีการให้ตัว จะทำให้ไม่แข็งแรงพอรับนํ้าหนักของผนัง และอาจทำให้พื้นมีการแอ่นตัว หรือที่ร้ายแรงกว่านั้น คือแผ่นพื้นสำเร็จอาจจะแตกหักได้ ดังนั้นวิศวกรควรออกแบบให้ผนังอิฐตั้งอยู่บนคานโครงสร้างที่มีการเสริมเหล็ก และออกแบบส่วนผสมคอนกรีตให้รับนํ้าหนักได้นั่นเอง

4. อย่า …ฉาบเร็วเกินไป

งานฉาบเป็นงานที่ต้องอาศัยความพิถีพิถัน เปรียบเสมือนการปั้นแต่งผิวหน้าให้เรียบเนียน พร้อมสำหรับการตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย ถ้าเราเร่งรัดขั้นตอนการฉาบมากเกินอาจทำให้พื้นผิวมีคลื่น นูนตํ่าไม่เท่ากัน หรือเม็ดทรายโผล่มาที่ผิว ซึ่งนั่นอาจทำให้ การปิดผิวด้วยสี หรือกระเบื้องอีกชั้น ไม่สวยงาม และไม่คงทน ดังนั้นเราควรใส่ใจขั้นตอนฉาบให้มาก ค่อย ๆ บรรจงปั่นหน้าให้เรียบ ด้วยการสลัดนํ้า และปั่นด้วยเกรียง เพราะหากมีการปิดผิวด้วยสีแล้วจะไม่สามารถแก้ไขขั้นตอนฉาบได้อีกแล้ว

5. อย่า …ฉาบหนาเกินไป

การฉาบปูนที่หนาเกินไป จะทำให้ชั้นปูนฉาบแห้งช้าลง และเกิดปัญหาเรื่องนํ้าหนัก หากจำเป็นจริง ๆ เช่น ผนังก่ออิฐมีการโน้ม หรือโน้มไปด้านหลังบางส่วน ทำให้ ต้องเพิ่มความหนาของปูนฉาบควรจะหนาเพียง 1.5 – 2 เซนติเมตร และแนะนำให้เติมปูนในส่วนที่อิฐโน้มไม่ได้ดิ่งนั้นก่อน จากนั้นทิ้งไว้ให้ปูนเซตตัว ก่อนจะฉาบปิดผิวหน้าให้ได้ระนาบ ซึ่งโดยทั่วไปชั้นปูนฉาบที่ได้ระนาบ และแนวดิ่งจะถูกกำหนดความหนาจากวงกบประตู หรือหน้าต่างที่ควรหนาไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร แต่อาจปรับเปลี่ยนได้หากผนังที่ก่อไว้ มีความโน้มเอียง

6. อย่า …เลือกใช้วัสดุราคาถูก และไม่ได้คุณภาพ

วัสดุก่อสร้างถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความแข็งแรงทนทานของบ้านคุณ ซึ่งการจำกัดงบประมาณ โดยการเลือกใช้วัสดุราคาถูก และไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้อายุการใช้งานตํ่ากว่าที่คาดหวัง ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป อาจต้องมีการซ่อมแซมอีกครั้ง และต้องเสียงบประมาณที่มากกว่าเดิม

ขอขอบคุณที่มาของบทความ
www.tigerbrandth.com

ใส่ความเห็น

×

Cart