7 วิธีปรับปรุงอาคารลดการแพร่เชื้อโรค

7 วิธีปรับปรุงอาคารลดการแพร่เชื้อโรค

7 วิธีปรับปรุงอาคารลดการแพร่เชื้อโรค

7 วิธีปรับปรุงอาคารลดการแพร่เชื้อโรค ในแต่ละวันคนส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่ในพื้นที่อาคารมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่ในอาคารมีผลอย่างมากในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค ในช่วงที่ทั้งโลกยังคงรอวัคซีนเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 (COVID-19)นั้น แล้วจะมั่นใจได้อย่างไรว่าอาคารที่เราใช้ชีวิตอยู่เป็นประจำทุกวันปลอดภัยจากเชื้อโรค ประเด็นนี้นับเป็นความท้าทายใหม่ในยุค Next Normal ของเจ้าของอาคาร ซึ่งควรหันมาให้ความสำคัญในการสร้างความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งานอาคาร โดยได้มีแนวทางแนะนำการปรับปรุงอาคารเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคระบบทางเดินหายใจ จาก fitwel มาตรฐานอาคารที่ริเริ่มโดยกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยสามารถสรุปรูปแบบใหญ่ๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. เพิ่มปริมาณอากาศจากภายนอก (Outdoor Air)

หากระบบปรับอากาศในพื้นที่ใช้งานในอาคารปัจจุบันไม่มีการระบายอากาศที่เพียงพอ ก็อาจส่งผลในการสะสมเชื้อโรคและทำให้ผู้ใช้ชีวิตในอาคารรู้สึกไม่สบาย หรือเวียนศีรษะจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ในพื้นที่ที่สูงเกินไปได้ การเพิ่ม Air Change Rate ให้กับพื้นที่นั้น จึงเป็นวิธีที่จะสามารถเจือจางหรือพาเชื้อโรคออกไปจากพื้นที่ได้ไวขึ้น ในพื้นที่ปลอดเชื้ออาจมีการออกแบบสูงถึง 12 Air Change Rate ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในการปรับปรุงระบบควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญวิศวกรงานระบบเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการใช้พลังงานมากเกินไป กรมควบคุมโรคของประเทศจีนแนะนำว่า สำหรับที่พักอาศัย เจ้าของบ้านสามารถเพิ่ม Air Change Rate ได้ด้วยการเปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ช่วงเช้าและเย็นครั้งละประมาณ 30 นาทีเช่นเดียวกัน

2. ติดตั้งฟิลเตอร์ในระบบปรับอากาศ

เนื่องจากไวรัสในตระกูล Corona หรือ COVID-19 มีพฤติกรรมเป็น Air-Bourne คือสามารถเกาะกับฝุ่น (PM10, PM2.5) เพื่อเป็นพาหะในการแพร่กระจายหรือลอยอยู่ในพื้นที่ได้เป็นเวลานาน การป้องกันฝุ่นจากภายนอกจึงเป็นอีกประเด็นที่ควรมีการดำเนินการ โดยติดตั้งแผ่นกรองอากาศที่ระบบปรับอากาศเพื่อลดปริมาณฝุ่นจากภายนอกซึ่งสามารถเป็นพาหะของเชื้อโรคในอาคาร ยกตัวอย่างเช่น อาคารเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน LEED มีการติดตั้งแผ่นกรองอากาศในระดับ MERV 13 นอกจากจะช่วยกรองฝุ่นขนาดเล็กได้ถึง 0.03 ไมครอน แล้ว ยังมีผลการศึกษาที่ประเมินว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ตั้งแต่ 31-47% เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้แผ่นกรองอีกด้วย

3. การควบคุมความชื้น

การคุมความชื้นให้อยู่ในระหว่าง 40 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์เป็นช่วงที่มีการศึกษาว่าสามารถขัดขวางการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีที่สุด ทั้งนี้ การดำเนินการควรอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอาคารโดยเฉพาะ และไม่ควรนำเครื่องทำความชื้นส่วนบุคคลมาใช้เนื่องจากจะเป็นการกระทบต่อระดับความชื้นโดยรวมของอาคาร

4. เทคโนโลยีฆ่าเชื้อโรค

ในช่วงการแพร่ระบาดของ  COVID-19 มีเทคโนโลยีที่อาคารนิยมนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้แก่ Bi-Polar Ionizer และ UV-C ซึ่งมีวิธีทำงานและใช้งานที่ต่างกัน คือ Bi-Polar Ionizer ใช้การสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยสามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีคนอยู่ได้ จึงเหมาะกับพื้นที่ทำงานหรือพื้นที่สาธารณะต่างๆ ส่วน UV-C สามารถใช้งานเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้เช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากตัวรังสีเป็นอันตรายต่อมนุษย์ จึงต้องวางแผนตารางเวลาในการใช้งาน หรือ ใช้งานในพื้นที่ควบคุมที่ผู้ใช้งานทั่วไปเข้าไม่ถึง เช่น ห้อง AHU หรือเป็นตู้สำหรับฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทำความสะอาดที่อาจปนเปื้อนต่างๆ

5. อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในที่นี้ได้แก่หน้ากากอนามัย ถุงมือ หรือ แว่นตา ซึ่งการจัดหาเครื่องมือป้องกันการติดเชื้อทั้งสำหรับผู้ใช้งานอาคารและพนักงานทำความสะอาด เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการลดการแพร่กระจายเชื้อได้ สำหรับผู้ใช้งานอาคารควรมีอุปกรณ์ป้องกันรองรับ หรือจำหน่ายในลักษณะตู้กด กรณีที่ต้องการใช้งานฉุกเฉิน

6. มาตรการทำความสะอาด

นอกจากมาตรการทำความสะอาดในพื้นที่ที่มีการสัมผัสบ่อย เช่น ลูกบิดประตู, ปุ่มลิฟท์, สวิตช์ไฟ, ห้องน้ำ (รวมถึงตู้ขายหน้ากากในข้อ 4) แล้ว ยังมีคำแนะนำเกี่ยวกับสารเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ เช่น 5.25%–8.25% Sodium Hypochlorite, 70% Ethanol, 5% Benzalkonium Chloride (Lysol), หรือ 10%Sodium Hypochlorite โดยสามารถดูแนวทางเพิ่มเติมได้จากกรมควบคุมโรค นอกจากนี้ การมีแผนเตรียมการกรณีที่เกิดการติดเชื้อในพื้นที่ จะทำให้การควบคุมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดการแพร่กระจายได้เช่นเดียวกัน

7. การล้างมือ

กรมควบคุมโรคให้คำแนะนำว่าการล้างมือเป็นมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลมากที่สุดมาตรการหนึ่ง ดังนั้น การเตรียมสบู่ กระดาษเช็ดมือ หรือแอลกอฮอล์ล้างมือ ในพื้นที่ ก็มีส่วนช่วยในการลดการแพร่กระจายของเชื้อได้อีกทางเช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ เจ้าของอาคาร หรือ เจ้าของโครงการ สามารถหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านการรับรองอาคารเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ เพื่อช่วยให้คำแนะนำและ ประเมินโครงการเบื้องต้น เพื่อหามาตรฐานที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงการต่อไป

ในการวัดค่าความเป็นมิตรต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคารนั้น เริ่มมีการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กรต่างๆ มาตั้งแต่ช่วงปี 2000 จากปัญหาการป่วยไข้ที่เกิดขึ้นจากอาคาร (sick building Syndrome) ทั้งโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจจากระบบอากาศหมุนเวียนภายใน หรือโรคไม่ติอต่อ (Non-communicable Disease: NCD) เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม โรคอ้วน หรือโรคหัวใจ เป็นต้น ที่ผ่านมา เราอาจคุ้นเคยกันบ้างกับ มาตรฐาน WELL หรือ WELL Building Standard มาตรฐานอาคารทางสุขภาวะที่เริ่มต้นขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมาตรฐานอาคารที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพการอยู่อาศัยของผู้ใช้อาคาร เพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทรุดโทรมอย่างในปัจจุบันได้ โดยการรับรองอาคารตามมาตรฐาน WELL จะมีการประเมินหลังการก่อสร้างที่จะเข้ามาตรวจวัดพื้นที่หลังจากที่อาคารสร้างเสร็จแล้วว่าผ่านตามข้อกำหนดหรือไม่

7 วิธีปรับปรุงอาคารลดการแพร่เชื้อโรค 1

และในปัจจุบัน มีมาตรฐานอาคารเพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีเกิดขึ้นมาเป็นทางเลือกให้กับเจ้าของ หรือผู้ดูแลอาคารสามารถพิจารณานำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ในความดูแลเพิ่มเติมได้อีกมาตรฐานหนึ่งคือ มาตรฐาน fitwel (fitwel Certification System) ซึ่งเป็นมาตรฐานอาคารเพื่อคุณภาพชีวิตที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน ริเริ่มโดยกรมควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา หรือ The U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ซึ่งเป็นการรับรองอาคารที่มีขึ้นเพื่อประเมินอาคารด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดี (well-being building) ผ่านมาตรการออกแบบ บริหารจัดการ และตรวจวัดปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดย Center for Active Design (CfAD) องค์กรตรวจประเมินและจัดอันดับอาคารเพื่อคุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน มาตรฐานได้พิจารณามิติด้านการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งานใน 7 ด้าน คือ การส่งเสริมกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Activity) ผู้ใช้งานมีความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ อาชญากรรม และการติดเชื้อ (Promote Occupant Safety) ลดอัตราการป่วยและขาดงานจากปัญหาสุขภาพ (Reduce Morbidity and Absenteeism) เป็นมิตรต่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม (Support Social Equity) สร้างสุขภาวะที่ดีในพื้นที่ใช้งาน (Instill Feelings of Wellbeing) เสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบ (Impact Surrounding Community Health) และมีทางเลือกอาหารเพื่อสุขภาพ (Provide Healthy Food Options) โดยปัจจุบันมีอาคารทั่วโลกได้รับการรับรองแล้วกว่า 500 อาคาร จากการเข้ารับการประเมินกว่า 1,500 โครงการใน 40 ประเทศ และมีอัตราการเติบโตของมาตรฐานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวทุกปี

ติดตาม
Facebook : SCGRatchaphruk

โพสต์นี้มีความคิดเห็นเดียว

  1. 7 วิธีปรับปรุงอาคารลดการแพร่เชื้อโรค ในแต่ละวันคนส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่ในพื้นที่อาคารมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่ในอาคารมีผลอย่างมากในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค ในช่วงที่ทั้งโลกยังคงรอวัคซีนเพื่อแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19

ใส่ความเห็น

×

Cart